Healthty.in.TH

จงออกกำลังกาย "เพราะคุณรักตัวเอง" ไม่ใช่….. "เพราะคุณเกลียดรูปร่างของตัวเอง"

สุขภาพ

นักเที่ยวควรรู้ ฝีมะม่วงคืออะไร?

นักเที่ยวควรรู้ ฝีมะม่วงคืออะไร?

วันนี้จะมานำเสนอบทความสุขภาพที่ค่อนข้างสำคัญมาก เป็นโรคติดต่อที่มาจากเพศสัมพันธ์ ซึ่งถ้าพูดถึงโรคประเภทนี้ หลาย ๆ คนมักจะนึกถึงโรคเริม, โรคหนองใน เป็นต้น แต่กลับไม่มีใครรู้จักหรือคุ้นชื่อกับโรคติดต่อทางเพศอย่างฝีมะม่วง ที่เป็นอีกหนึ่งอาการผิดปกติที่เกิดกับร่างกาย หากไม่ทำการรักษาให้ทันท่วงที รับรองว่าจะเสียใจไปตลอดชีวิตกับฝีมะม่วง

ฝีมะม่วง คืออะไร

ฝีมะม่วง คือ โรคชนิดหนึ่งที่มีต้นเหตุมาจากการติดเชื้อในบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ โดยเป็นเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดียที่จะฝังตัวอยู่ในร่างกายและใช้เวลาในการฝักตัวจึงจะแสดงอาการออกมาในที่สุด ที่สำคัญคือโรคนี้สามารถติดต่อได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย ทั้งยังตรวจพบได้มากในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV แต่ข่าวดีก็คือหากรักษาได้อย่างทันเวลา ก็สามารถหายขาดได้เป็นปกติเช่นกัน

ฝีมะม่วงกับอาการที่ควรรู้

แบคทีเรียคลาไมเดีย คือ ต้นตอที่สำคัญ เพราะเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถติดได้ทางเพศสัมพันธ์ดูดไขมันทั้งทางทวารหนักและทางอวัยวะเพศ ซึ่งแบคทีเรียคลาไมเดียนั้นจะใช้เวลาฟักตัวอย่างน้อย 3 – 30 วัน โดยในช่วง 30 วันหลังจากรับเชื้อครั้งแรก จะเกิดระยะของฝีมะม่วงที่ถูกแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

  • ระยะแรกฝีมะม่วง หลังจากรับเชื้อ 3-7 วันแรก ร่างกายจะเริ่มมีตุ่มเล็ก ๆ ปัสสาวะลำบาก ในเพศชายอวัยวะเพศจะค่อนข้างแข็งเนื่องจากอักเสบ ระยะแรกก็สามารถแพร่เชื้อได้ทันที
  • ระยะที่ 2 ฝีมะม่วง เกิดหลังจากรับเชื้ออย่างน้อย 2 สัปดาห์ อาการโดยรวมจะเริ่มรุนแรงขึ้น คือ เกิดตุ่มบริเวณขาหนีบทั้ง 2 ข้าง หากสัมผัสหรือกดจะรู้สึกปวด รวมถึงมีอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ปวดตามข้อ เป็นต้น ในระยะ 2 อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เยื่อหัวใจได้ รวมถึงทำให้ดวงตาอักเสบ
  • ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยลักษณะนี้ คือ ผู้ป่วยอาการเรื้อรังที่ไม่ทำการรักษา หรือเป็นมาอย่างน้อย 2 – 5 ปี อาการรุนแรงมาก โดยเฉพาะบริเวณลำไสใหญ่ น้ำหนักลด มีหนองไหลออกมาได้ทั้งรูทวารหนักและอวัยวะเพศ อาจถึงขั้นลุกลาม ส่งผลทำให้อวัยวะเพศผิดรูป

ฝีแบบใดควรไปพบแพทย์ทันที

สำหรับใครก็ตามไม่มีพฤติกรรมนักเที่ยวแบบไม่ป้องกัน หากสังเกตร่างกายแล้วพบ ฝีมะม่วง หรือตุ่มบริเวณโคนขาหนีบ อวัยวะเพศ รวมถึงทวารหนัก และมีหนองไหลออกมาจากตุ่มหรือแผล เนื่องจากต่อมน้ำเหลือง บริเวณขาหนี เกิดขยายตัวขึ้นนั่นเอง และอาการอันตรายที่แสดงออกชัดเจนที่สุดก็คือ แสบร้อนบริเวณอวัยวะเพศอย่างรุนแรง หากเป็นเพศหญิงบริเวณปากมดลูก รวมถึงแคมก็จะมีอาการบวมอย่างเห็นได้ชัด หากพบอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์โดยด่วน

ตุ่มบริเวณขาหนีบอาจไม่ใช่ฝีมะม่วงก็ได้

ถึงแม้จะมีตุ่มขึ้นบริเวณที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคฝีมะม่วงก็ตาม แต่ทั้งนี้ต้องได้รับการวินิจฉัยของแพทย์ด้วยเช่นกัน คือ

  • การตรวจเลือดจะสามารถตรวจหาแบคทีเรีย ต้นเหตุฝีมะม่วงได้
  • ซีทีสแกน คือ การสแกนที่จะช่วยทำให้มองเห็นต่อมน้ำเหลืองที่ทำงานผิดปกติได้ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต เนื่องจากติดเชื้อ
  • ตรวจเนื้อเยื่อ แพทย์จะนำส่วนหนึ่งของฝีมะม่วงหรือเนื้อเยื่อบริเวณลำไส้ เพื่อไปตรวจหาแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุของโรคฝีมะม่วง
  • ส่องกล้องตรวจเช็ค คือ การตรวจด้วยกล้อง นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่สามารถตรวจหาสิ่งผิดปกติ รวมถึงสามารถวินิจฉัยได้ดี

รักษาฝีมะม่วงอย่างไร?

ปัจจุบันฝีมะม่วงสามารถรักษาให้หายขาดได้ไม่ยาก ทั้งนี้มี 2 วิธีหลัก ๆ คือ ผ่านยาและผ่านการผ่าตัด ดังนี้

  • ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยา มักจะใช้ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียฝีมะม่วงในระยะแรก โดยแพทย์จะจ่ายยาดอกซีไซคลินและอะซิโธรมัยซิน เพราะยา 2 ชนิดนี้ออกฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียที่เป็นตัวการของฝีมะม่วงโดยตรง หากรักษาและทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ฝีมะม่วงจะหายขาดภายใน 20 วัน
  • วิธีรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือเข้าสู่ระยะท้าย ๆ หรืออาจรวมถึงการเกิดตุ่มน้ำเหลืองขยายขนาดมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งยังมีอาการแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ลำไส้ตีบ เป็นต้น โดยแพทย์จะทำการผ่าตัดด้วยการผ่าฝีที่ต่อมน้ำเหลืองโดยตรง เพื่อบรรเทาอาการรุนแรงให้ทุเลาลงจึงจำเป็นต้องผ่าตัดเช่นกัน

วิธีป้องกันฝีมะม่วง

สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้ป่วยด้วยฝีมะม่วง หากมีเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะคนที่ไม่ใช่คู่นอนของเรา ควรสวมถุงยางอนามัย คือ วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย ตัวการสำคัญในการเกิดฝีมะม่วง หลีกเลี่ยงสัมผัสแผลโดยตรง รวมถึงสารคัดหลั่งผู้ติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอนเป็นประจำ เป็นต้น แต่สำหรับผู้ที่ตรวจพบแล้วว่ากำลังประสบกับฝีมะม่วง ควรหยุดมีเพศสัมพันธ์ทันทีและเตรียมตัวเพื่อเข้าทำการรักษาให้หายขาดต่อไป

ฝีมะม่วงเป็นโรคทางเพศสัมพันธ์ที่ไม่ควรประมาท ติดได้ง่าย ไม่รู้ตัว ฟักตัวไว สามารถติดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง ฝีมะม่วงนั้นอันตราย แต่วิธีป้องกันนั้นง่ายมาก เพียงสวมถุงยางหรือไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยครั้ง หมั่นตรวจสุขภาพอย่างน้อย 6 เดือนต่อครั้ง และที่สำคัญคือหลีกเลี่ยงการทำออรัลเซ็ก เพราะถ้าเชื้อแบคทีเรียคลาไมเดีย (ฝีมะม่วง) เข้าสู่ช่องปาก ความรุนแรงจะทวีคูณยิ่งกว่าบริเวณอวัยวะเพศ เพราะเชื้อแบคทีเรียตัวนี้จะไปจับตัวที่ไขกระดูกสันหลังจนอาจกลายเป็นอาการรุนแรงจนถึงแก่ชีวิตได้

Share this post

About the author